พ่อลูกเห็นพ้อง กุ้งยุคนี้ ต้องอ๊อกใต้น้ำ

ทั้งบ่ออนุบาล บ่อเลี้ยงดิน จัดเต็ม

          อาจารย์พิภพ นามสนิท ข้าราชการขยัน นอกจากรับราชการแล้วก็ยังเลี้ยงกุ้งมานาน 30 กว่าปีแล้ว อาจารย์พิภพ เดิมเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาตั้งแต่ปี 2529 แล้วมาเปลี่ยนเป็นเลี้ยงกุ้งขาว ช่วงปี 2544 - 2545 ฟาร์มของอาจารย์พิภพอยู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ถึงแม้อาจารย์เลี้ยงกุ้งมา 30 กว่าปี แต่ก็ยังคอยหมั่นหาความรู้ ใหม่ๆ มาใช้ในการเลี้ยงกุ้งเสมอ โชคดีมีผู้ช่วยมือเอก

          "คุณเบส อุกฤษฏ์ นามสนิท" ลูกชายที่เรียนจบประมง เข้ามาช่วยแบ่งเบาได้ 10 กว่าปีแล้วและได้มีการพัฒนารูปแบบฟาร์มให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประมาณ 4 ปีก่อนในฟาร์มอาจารย์พิภพก็ใช้แต่ใบพัดตีน้ำอย่างเดียว ช่วงนั้นกุ้งเริ่มเลี้ยงยากมาก อาจารย์ก็เลยไปดินดูงานต่างๆ จนกระทั่งได้มาที่งานกุ้งจันทบุรี และได้มาเจอบูรสายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ล อาจารย์ได้ฟังคำอธิบายแล้วเกิดความสนใจ จึงสั่งซื้อมาทดลองใช้ พอใช้แล้วติดใจจึงสั่งซื้อมาใช้ตลอดต่อเนื่อง ปีนี้ก็เข้าปีที่ 4 แล้ว อาจารย์พิภพแจ้งว่า สายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ลให้ออกซิเจนได้ดีกว่าการใช้ใบพัดตีน้ำมาก วัดค่า DO ได้สูงถึง 10 เลยทีเดียว

          คุณเบส เสริมว่า ตอนซื้อมา 4 ปีที่แล้วใช้แต่ในบ่ออนุบาล มาเริ่มใช้ในบ่อดินได้ 2 ปี ผลเป็นที่น่าพอใจมาก ตอนนี้ก็ลงเพิ่มในแต่ละบ่อเพราะ ออกซิเจนสูงกว่า กุ้งเติบโตได้ดี และมีแนวโน้มว่าจะค่อยๆลดใบพัดตีน้ำลง เพราะรู้สึกเลยว่า คุ้มค่า ประหยัดไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายสายอ๊อกก็ไม่สูงอย่างที่คิด บ่อหนึ่งค่าใช้จ่ายสายอ๊อกแค่ 4,000 บาท ต่อบ่อ โดยประมาณ ลงทุนไม่มาก เพราะทางฟาร์มซื้อสายโอทูบับเบิ้ลมาตัดความยาว 1 เมตร - 1.20 เมตร พันกับใบพัดตีน้ำเก่า แล้วเชื่อมข้อต่อ 3 ทาง บ่อดินใช้ประมาณ 36 - 40 ตัว / 1-2 ไร่ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนกุ้งด้วย ลองคำนวณต้นทุนดู 1 บ่อ 1 ไร่ ใช้สายยางเติมอากาศขนาดเล็กสุดประมาณ 40 - 50 เมตร บ่อใหญ่สุดใช้ 60 - 100 เมตร ต้นทุนสายยางต่อบ่อ 2,000 - 4,000 บาท ต่อบ่อเท่านั้นเอง ค่าใช้จ่ายถูกกว่าอ๊อกใต้น้ำระบบอื่นๆด้วย

ข้อมูลการเลี้ยง

บ่ออนุบาล

  • เป็นบ่อปู PE 100%
  • ขนาดบ่อ 200 - 400 ตัน
  • ลงกุ้ง 300,000 - 600,000 ตัว
  • ระดับความลึกของน้ำ 1.20 - 1.50 เมตร
  • สายยางที่นำมาประดิษฐ์เองอันละ 1.2 เมตร โดยวางรอบบ่อ 20 หัว/บ่อ จะวางบนพื้นโดยรอบเว้นตรงกลางให้เกิดการรวมตะกอนตรงหลุมเหลน
  • ใช้ปั๊มซุปเปอร์ซาร์จ ตัวใหญ่ 1 ตัว พ่วงมอเตอร์ 3 แรง 1 ตัว
  • อนุบาล 30 วัน
  • ให้อาหารแบบหว่านมือ 6 ครั้ง/วัน
  • เปิดใช้งานตลอด 24 ชม.

บ่อดิน

  • เป็นบ่อปู PE ขอบบ่อและปูแนวฟีด
  • ขนาด 1- 4 ไร่
  • ความลึกน้ำระดับไม่เกิน 1.50 เมตร
  • ความหนาแน่น 100,000 - 150,000 ตัว/ไร่
  • ใช้อุปกรณ์ประดิษฐ์โอทูบับเบิ้ลที่ขดกับใบพัดตีน้ำ โดยวางรอบบ่อและเน้นที่จุดอับของบ่อ วางประมาณ 36-40 ตัว ต่อ 1-2 ไร่, 50-80 ตัว ต่อ 3-4 ไร่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนกุ้งด้วย
  • ป็มซุปเปอร์ชาร์จ ตัวใหญ่ 1 ตัว หรือ ปั๊มซุปเปอร์ชาร์จตัวเล็ก 2 ตัว พ่วงมอเตอร์ 3 แรง 1 ตัว ต่ออุปกรณ์ 36-40 ตัว แต่ถ้าใช้อุปกรณ์มากก็จะเพิ่มปั๊มซุปเปอร์ชาร์จพ่วงมอเตอร์ 3 แรง เป็น 2 ชุด
  • ให้อาหารแบบหว่านมือ 6 ครั้ง/วัน เปิดใช้งานตลอด24 ชม. จนจบครอป

เตรียมอุปกรณ์

  • สายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ล
  • ใบพัดตีน้ำที่ไม่ใช้แล้ว 1 อัน
  • ข้อต่อ 3 ทาง ขนาด 4 หุน
  • สายยางเกษตร ขนาด 5 หุน
  • อิฐตัวหนอน ประมาณ 2 กิโลกรัม
  • เคเบิ้ลไทด์

การทำความสะอาด

          เมื่อจับกุ้งเสร็จแล้ว นำสายยางที่ประดิษฐ์เองขึ้นมา ล้างโดยปั๊มน้ำแรงสูงฉีด โดยน้ำที่ใช้จะผสมไอโอดีนฆ่าเชื้อ ล้างตะกอนที่เกาะสายยางโดยรอบออก หลังจากนั้นก็นำมาล้างน้ำให้สะอาด และนำไปผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำไปเก็บไว้ในที่ร่ม

สุดท้ายนี้ อาจารย์พิภพก็มีฝากกำลังใจถึงเกษตรกรรุ่นใหม่

  1. การเสริมออกซิเจนแล้วให้ผลดีกับกุ้งแน่นอน กุ้งกินอาหารดี กุ้งลอกคราบดี กุ้งโตเร็วขึ้น
  2. นอกจากสายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ลสามารถช่วยเสริมอีอกซิเจนได้สูงกว่าใช้ใบพัดตีน้ำ
  3. หลังจากเลี้ยงแบบอนุบาลแล้วก็ลดการเสียหายได้มาก
  4. อยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่ลองหันมาใช้สายยางเติมอากาศดูจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนแน่นอน

คุณเบส อุกฤษฏ์ (ลูกชาย)

          การเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องใส่ใจ กุ้ง ปลาให้เหมือนลูกของเรา เขาขาดอะไร เราต้องเสริมให้เขาตามนั้น เขาต้องการน้ำ ต้องการอากาศ ต้องการอาหารที่ดี เราต้องจัดให้เขาให้เพียงพอ เหมือนการดูแลคน

นอกจากการทำความสะอาดด้วยการ 

1. ขัดด้วยสก๊อตไบรท์ 2. ใช้เครื่องแรงดันน้ำสูงฉีด 3. แช่สารละลายเคมี และยังมีอีก 2 วิธีที่เกษตรกรปฏิบัติกัน ดังนี้

4.การเพิรจ์(Purge) การใช้แรงดันสูงเพื่อดันตะกอนให้หลุดจากสาย ปิดวาล์วควบคุมอุปกรณ์เติมอากาศลง ให้จำนวน 15-25% ของที่ติดตั้งต่อปั๊ม แล้วใช้แรงดันลมผลักตะกอนออกจากอุปกรณ์ส่วนที่วาล์วยังเปิดอยู่ สามารถทำการเพิรจํระหว่างการเลี้ยง อาทิตย์ละครั้ง หรือทุกๆ 2-3 วัน จะยืดอายุการใช้ในครอปดีขึ้น รวมทั้งสามารถทำหลังจบครอป แล้วจึงนำไปล้างทำความสะอาดต่อไป

5.การต้มแช่ในนำร้อน สามารถใช้การต้มจากการแก๊ส หรือการต้มจากฮีตเตอร์ โดยต้มที่ประมาณ 60-70 องศา ประมาณ 1 ชั่วโมง คราบที่อุดตันอยู่ก็สามารถหลุดออกมาได้ แต่อุณหภูมิยังสูงไม่พอที่จะฆ่าเชื้อโรค หากต้องการทำการฆ่าเชื้อโรคจะต้องใช้สารละลายเคมีทำความสะอาดหลังจากต้มแช่ในน้ำร้อน