อ๊อกใต้น้ำในบ่อดิน นครปฐม ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า กุ้งแข็งแรง เลี้ยงได้หนาแน่นขึ้น

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดนครปฐม ผู้ที่ไม่หยุดพัฒนาการเลี้ยงกุ้งของตนเอง สืบทอดอาชีพเลี้ยงกุ้ง มาจากคุณพ่อ เดิมใช้แค่ใบพัดตีน้ำอย่างเดียว ตั้งแต่เข้ามาเลี้ยงกุ้งได้ สังเกตว่าต้นทุนที่สูงของฟาร์ม ส่วนหนึ่งมาจากค่าไฟฟ้า จึงได้ไล่ไปแต่ละจุดว่าอะไรคือ ต้นต่อของค่าไฟที่เพิ่มขึ้น จึงพบว่า ค่าไฟฟ้าสูงมาจากใบพัดตีน้ำ แต่จะไม่เติมอากาศในน้ำเลยก็ไม่ได้ จึงศึกษาว่าอะไรที่จะมาใช้เสริมแทนได้ จึงลองค้นหาข้อมูลจนพบกับ

สายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ล เป็นอุปกรณ์เสริมออกซิเจนจากใต้น้ำโดยตรง จึงได้หันมาลองใช้ หลังจากใช้แล้วพบว่า “ค่าออกซิเจนที่ได้เมื่อเทียบกับค่าไฟที่จ่าย ถูกกว่าใบพัดตีน้ำมาก”นอกจากประเด็นเรื่องค่าไฟที่ประหยัดมากขึ้นแล้วกุ้งก็แข็งแรงขึ้น สังเกตเห็นว่าเวลาให้อาหารกุ้งกินเก่งขึ้น และโตไวสามารถลงกุ้งได้หนาแน่นขึ้น

  • ข้อมูลการเลี้ยงในบ่อดิน
  1. บ่อเลี้ยง เป็นบ่อดิน 8 บ่อ
  2. ขนาดบ่อ 2 – 4 ไร่
  3. ความหนาแน่นในการเลี้ยง 100,000 -130,000 ตัว/ไร่
  4. เลี้ยงแบบปล่อยตรง
  5. เลี้ยงกุ้งที่ระดับความลึก 1.7-1.8 เมตร
  6. ให้อาหารโดยออโต้ฟีด
  7. ปั๊ม ยูดี 5 แรง และ 7 แรง ขึ้นอยู่กับขนาดบ่อ
  • วิธีการประดิษฐ์
  1. ตัดสายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ลขนาด 5 หุน ความยาว 50 เซนติเมตร จำนวน 3 เส้น

  2. นำสายยางโอทูบับเบิ้ลต่อกับข้อต่อ 6 แฉก โดยขดปลายทั้ง 2 ข้าง เข้ากับข้อต่อ

  3. ผูกกับไม้ปักลงพื้น ติดตั้งเหนือพื้นดิน ประมาณ 30 เซนติเมตร

ใช้อุปกรณ์ประดิษฐ์จากสายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ล ในบ่อ 2 ไร่ ใช้จำนวน 50 หัว พ่วงกับปั้ม ยูดี 5 แรง และในบ่อ 3 ไร่ ใช้จำนวน 100 หัว พ่วงกับปั้ม ยูดี 7 แรง เปิดใช้งานสายยางเติมอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง  ใบพัดตีน้ำ ทั้งหมด 8 แขน แต่จะเปิดตลอด 24 ชั่วโมง เพียงแค่ 4 แขน

เกษตรกรผู้ใช้สายยางเติมอากาศ กล่าวว่า “จุดเด่นของการใช้อ๊อกใต้น้ำจาก สายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ล ช่วยเคล้าน้ำให้สม่ำเสมอกันทั่วบ่อ ไม่มีการแบ่งชั้นน้ำ กุ้งไม่น็อคน้ำ โดยเฉพาะเวลาอากาศร้อนจัด หรือฝนตกหนัก” ถ้าใช้ใบพัดตีน้ำอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยลดการแบ่งชั้นน้ำได้ เพราะใบพัดตีน้ำจะตีน้ำเฉพาะด้านบนลงไปเท่านั้น

พลังงานที่ใช้น้อย ต้นทุนการเลี้ยงก็ต่ำลง จากเดิมใช้ปั้มมอเตอร์ 3 แรง ใช้กับใบพัดได้เพียง 3 แขน แต่มอเตอร์ขนาดเท่ากันนั้น ปั้มมอเตอร์ 3 แรง สามารถใช้อุปกรณ์เติมอากาศประดิษฐ์เองได้ 60 หัว ออกซิเจนที่ได้เพียงพอทั่วทั้งบ่อ เกษตรกรท่านนี้ได้เก็บข้อมูลก่อน และใช้เทียบกันได้ว่าต้นทุนไฟฟ้าลดลงถึง เดือนละ 10 % เลยทีเดียว

  • ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทุกท่าน

หากเกษตรกรท่านใดต้องการใช้สายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ล ต้องศึกษาวิธีการใช้งานก่อน ต้องคิดปรับตามหน้างานตนเอง ไม่สามารถทำเลียนแบบคนอื่นโดยที่ตัวเองไม่เข้าใจถ่องแท้ ความสำเร็จไม่มีทางลัด โดยส่วนตัว มั่นใจว่า การใช้สายยางเติมอากาศโอทูบับเบิ้ล แล้วเพิ่มอ๊อกได้สูง

           “จริงๆ ถ้าถามว่าทุกวันนี้ให้เลี้ยงแบบเดิมที่ไม่ใช้สายยางโอทูบับเบิ้ลได้ไหม...ก็บอกเลยว่าทำใจไม่ได้มีโอทูบับเบิ้ลในบ่อแล้วสบายใจกว่าเยอะเลย ”